ทำความรู้จัก"สัญลักษณ์แสดงอันตรายรูปเพชร"ครับ





สีน้ำเงิน (Health) แสดงอันตรายต่อสุขภาพ
0) วัสดุปกติที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย นอกจากวัสดุติดไฟ
1) อันตรายเล็กน้อย สามารถทำให้เกิดการระคายเคืองได้
2) อันตราย วัสดุที่สามารถทำให้เกิดทุพพลภาพชั่วคราว หรือถาวรได้
3) อันตรายร้ายแรง วัสดุที่สามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บสาหัส หรือถาวร
4) อันตรายรุนแรง วัสดุที่สามารถทำให้ตายได้ เมื่อสัมผัสหรือสูดหายใจ

สีแดง (Flammability) ระบุความสามารถในการติดไฟของวัสดุ
0) วัสดุที่ไม่ติดไฟ เมื่อโดนความร้อนอุณหภูมิ 816°C นาน 5 นาที
1) วัสดุที่ต้องให้ความร้อนสูงกับวัสดุ ก่อนที่จะเกิดการติดไฟ มีจุดวาบไฟสูงกว่า 93.4°C0 วัสดุที่ไม่ติดไฟ เมื่อโดนความร้อนอุณหภูมิ 816°C นาน 5 นาที
2) สารที่ต้องใช้ความร้อนปานกลางก่อนจะติดไฟในอากาศ เช่น ของเหลวที่มีจุดวาบไฟ ระหว่าง 37.8°C ถึง 93.4°C
3) ของเหลวหรือของแข็งที่ติดไฟได้ง่ายในอากาศ ที่อุณหภูมิปกติ เช่น ของเหลวที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 22.8°C และมีจุดเดือดที่ สูงกว่า 37.8°C หรือ ของเหลวที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า 22.8°C และมีจุดเดือดที่ต่ำกว่า 37.8°C
4) วัสดุของเหลวหรือก๊าซ สารที่ระเหยเป็นไอได้รวดเร็ว ณ อุณหภูมิห้อง ที่ความดันบรรยากาศ เมื่อกระจายตัวผสมกับอากาศแล้วติดไฟได้เอง ของเหลวที่มีจุดวาบไฟ ต่ำกว่า 22.8°C จุดเดือดน้อยกว่า 37.8°C

สีเหลือง (Reactivity) แสดงความไวต่อปฏิกิริยา
1) วัสดุที่มีความเสถียรคงตัวในภาวะปกติ แต่จะเปลี่ยนแปลง ไม่เสถียรเมื่ออุณหภูมิหรือความดันเพิ่มสูง0 วัสดุที่มีความเสถียรคงตัว แม้ในภาวะที่เกิดเพลิงไหม้
2) สารเคมีที่จะเกิดปฏิกิริยารุนแรงได้ง่าย เมื่ออุณหภูมิ และความดันเปลี่ยน
3) วัสดุที่สามารถเกิดปฏิกิริยาการระเบิดได้ เมื่อได้รับความร้อน ความดัน หรือการกระแทก
4) วัสดุที่สามารถปฏิกิริยาการสลายตัว ระเบิดได้ง่ายที่อุณหภูมิ และความดันปกติ

สีขาว (Special) แสดงคุณสมบัติพิเศษ
W วัสดุที่ทำปฏิกิริยารุนแรงระเบิดเมื่อสัมผัสกับน้ำ
SA วัสดุประเภทก๊าซ ที่ทำให้หายใจไม่ออกได้ง่าย (ไนโตรเจน ฮีเลียม นีออน อาร์กอน คริปทอน และซีนอน)
OX วัสดุที่มีคุณสมบัติออกซิไดซ์
สัญลักษณ์ที่ไม่ได้อยู่ในมาตรฐาน
ACID = กรด
ALK = เบส
BIO = อันตรายทางชีวภาพ
COR = มีฤทธิ์กัดกร่อน
CRYO = ไครโอเจนิกส์
POI = พิษ
☢️= อันตรายจากรังสี
