ทำความรู้จัก”เฟืองเกียร์-Gearเบื้องต้น”

เฟืองเกียร์-Gear

📍📍📍เฟืองเกียร์เป็นชิ้นประกอบสำคัญของเครื่องจักร ทำหน้าที่รับส่งกำลัง ปรับเปลี่ยนความเร็ว หรือเปลี่ยนทิศทางของการหมุนแกนเพลา ลักษณะทรงกระบอกหรือรูปทรงกรวย ถูกตัดซ่องร่องฟันรอบพื้นผิว โดยมีระยะ ห่างระหว่างฟันเท่ากัน เพื่อส่งกำลังจาก เพลาหนึ่งไปยังอีกเพลาหนึ่ง การสึกหรอหรือชำรุดเสียหาย ของเฟืองเกียร์จะส่งผลกระทบถึงประสิทธิภาพการทำงาน ของเครื่องจักร หรือสร้างความเสียหายกับชิ้นส่วนอื่นๆ ที่ประกอบอยู่ด้วยกันของเครื่องจักร

ส่วนประกอบเฟืองเกียร์

แอดเดนดัม(Addendum) ระยะจากแนวรัศมีวงกลมพิตช์ถึงยอดของฟันเฟือง

ดีเดนดัม(Dedendum) ระยะจากแนวรัศมีวงกลมพิตช์ถึงฐานของฟันเฟือง

เคลียแรนซ์(Clearance) ช่องว่างระหว่างส่วนยอดของ เฟืองตัวหนึ่ง

จุดสัมผัสพิตช์(Pitch point) เป็นจุดสัมผัสของวงกลมพิตช์ ที่เฟืองทั้งสองขบกัน กับส่วนฐาน ของเฟืองอีกตัวหนึ่ง

หาอัตราทดความเร็วเฟืองเกียร์

อัตราทดความเร็ว = จำนวนฟันของเฟืองตาม/จำนวนฟันของเฟืองขับ

หาความเร็วรอบเฟืองเกียร์

ความเร็วรอบเฟืองตาม = (จำนวนฟันของเฟืองขับ x ความเร็วรอบเฟืองขับ)/จำนวนฟันของเฟืองตาม

เฟืองตรง - Spur gear

เฟืองตัดตรง มีลักษณะเป็นทรงกระบอก หรือจานกลมแบนที่มีฟันยื่นออกมาในแนวรัศมี หน้าฟันจะตรงและอยู่ในแนวขนานกับแกนหมุน

เฟืองเฉียง - Helical gear

เกียร์ลักษณะทรงกระบอก ร่องฟันมีลักษณะ เฉียง มีความแข็งแรง การสั่นและเสียงเงียบ กว่าเฟืองตรง ข้อเสียเกิดแรงรุน(แรงแนวแกน หรือแรงที่ขนานไปกับแกนเพลา) ซึ่งจะส่งผล ให้อายุการใช้งานของแบริ่งต่ำลง

เฟืองวงแหวน - Internal gear

มีลักษณะเหมือนกับเฟืองตรง แต่ฟันเฟืองจะอยู่ ด้านในของวงกลม ต้องใช้คู่กับเฟืองขนาดเล็กกว่า ที่ขบอยู่ด้านใน อัตราทดสามารถออกแบบให้มาก หรือน้อย ขึ้นอยู่กับขนาดของเฟืองตัวนอก (Ring) และเฟืองตัวใน (Pinion)

เฟซเกียร์ - Face gear

มีลักษณะคล้านจาน ฟันเฟืองอยู่ด้านบน มีทั้งแบบที่ใช้กับเฟืองตรง เฟืองเฉียง และเฟืองเฉียงก้างปลา โดยจะเป็นเฟือง ที่ขบกันลักษณะตั้งฉากหรือตัดกัน

เฟืองดอกจอก - Bevel gear

เฟืองดอกจอกจะมีรูปทรงคล้ายกับกรวยมีทั้งแบบ เฟืองตรง และแบบเฟืองเฉียง จะเป็นเฟืองสองตัว ที่ขบกันในลักษณะตั้งฉากหรือตัดกัน

เฟืองไฮปอยด์ - Hypoid gear

เป็นเฟืองที่จัดอยู่ในประเภทเฟืองดอกจอกแบบ เฟืองเฉียง แตกต่างกันตรงที่แกนเพลาของเฟือง ไฮปอยด์ ระนาบแกนของเพลาของเฟืองขับและ เพลาของเฟืองตามจะไม่ตัดกัน

เฟืองสะพาน - Rack and pinion gear

เฟืองสะพานมีลักษณะฟันเฟืองเรียงกันเป็นเส้นตรง ทำหน้าที่เปลี่ยนการเคลื่อนที่ตามแนวแกนหมุน เป็นการเคลื่อนที่เชิงเส้น เฟืองสะพานจะใช้งาน ร่วมกับเฟืองขับหรือ Pinion Gear

เฟืองหนอน - Worm gear

ชุดเฟืองประกอบด้วยเกลียวตัวหนอน (Worm) และล้อเฟืองหนอน (Worm Wheel) มีลักษณะ เป็นล้อเฟืองมีสันฟันเฟืองลักษณะเว้ารับกับความ โค้งของเกลียวตัวหนอน เพลาของทั้งสองอยู่ใน ลักษณะตั้งฉากกัน

เฟืองเกลียวสกรู - Screw gear

มีลักษณะเป็นเฟืองเฉียงหรือเฟืองเกลียว ใช้ส่ง กำลังระหว่างเพลาที่ทำมุมกัน 90 องศา ใช้ใน การเปลี่ยนทิศทางในการส่งกำลังของเพลา

เฟืองเฉียงก้างปลา - Herringbone Gears

มีลักษณะของฟันเฟืองที่เฉียงเข้าหากันในมุม ที่เท่ากัน พัฒนามาจากเฟืองเฉียงเพื่อลดแรงรุน (แรงแนวแกน หรือแรงที่ขนานไปกับแกนเพลา)